วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้และการแต่งรถกระบะเครื่องดีเซล

1.ดันราง
2.ทำคันเร่งไฟฟ้า
3.จูน SCV Value
4.ปลดล็อคบูส
มีการทำงาน ดังนี้

1. ดันราง ก็คือการเพิ่มแรงดันน้ำมันในราง Common Rail โดยการหลอกกล่องหลักว่าแรงดันน้ำมันในราง Common Rail ที่อ่านได้จากเซนเซอร์ของรางร่วมมีค่าน้อยกว่าค่าที่กล่องหลักต้องการ กล่องหลักก็จะสั่งให้ SCV เพิ่มการจ่ายน้ำมันเข้า Fuel Pump ทำให้ได้แรงดันในราง Common Rail เพิ่มขึ้นครับ ประโยชน์ก็คือทำให้น้ำมันที่ฉีดออกจากหัวฉีดเป็นฝอยมากขึ้น เครื่องยนต์ก็จะจุดระเบิดได้รุนแรงขึ้น ได้แรงม้าและแรงบิดมากขึ้นด้วยครับ แต่ถ้าแรงดันมากเกินไปก็จะทำให้ปลอกหัวฉีดบวม หัวฉีดยกไม่ขึ้น หัวฉีดถอน หรือ Fuel Pump พังได้ครับ
2. ทำคันเร่งไฟฟ้า ก็คือการหลอกกล่องหลักว่าเรากดคันเร่งมากขึ้นหรือว่าทำให้คันเร่งตอบสนองเร็วขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นสมมติว่าเราเขียนโปรแกรมว่า
ถ้าเรากดคันเร่งจริง 20% ให้หลอกกล่องหลักว่าเรากด 40%
ถ้าเรากดคันเร่งจริง 50% ให้หลอกกล่องหลักว่าเรากด 80%
ถ้าเรากดคันเร่งจริง 60%-100% ให้หลอกกล่องหลักว่าเรากด 100%
จะเห็นว่าถ้าเรากดคันเร่งตั้งแต่ 1%-60% จะได้การตอบสนองที่ดีขึ้นเนื่องจากกล่องหลักถูกหลอกว่าเรากดคันเร่งมาก ทำให้เรารู้สึกว่ากดคันเร่งนิดเดียวรถก็แรงขึ้นแล้ว แต่ถ้าเราขับอยู่แล้วกดคันเร่งที่ 60% แล้วเมื่อกดมากขึ้นก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเนื่องจากกล่องหลักโดนหลอกว่ากดคันเร่งเต็มตั้งแต่ที่ 60% แล้วครับ
ข้อดีคือขับสนุกขึ้นถ้าเป็นเกียร์ Auto ก็ Kick down เร็วขึ้น ข้อเสียคือถ้าเราตั้งให้ค่าคันเร่งมันเต็มเร็วเกินมันจะทำให้เราขับลำบากยิ่งถ้าขับในเมืองหรือให้เพื่อนที่เขาไม่รู้ยืมรถ เพราะว่ารถมันจะไปอย่างเดียวครับ หรือมีอาการขับที่ไม่ Smooth ครับ
3. จูน SCV Valve ถ้าเป็นกล่องพ่วงที่จูน SCV Valve ได้ในตอนนี้ก็น่าจะมี Monster Max ของ ECU-SHOP ส่วนสาเหตุที่ต้องจูน SCV ก็คือต้องการเพิ่มหรือคุมแรงดันน้ำมันในราง Common Rail ให้สูงขึ้นและคงที่ ยกตัวอย่างรถยนต์ Mitsubishi Triton ถ้าใครที่เคยใช้รถรุ่นนี้อยู่ คงพอจะรู้ว่าเมื่อรอบเครื่องยนต์สูงขึ้นกล่องหลักจะสั่ง Drop แรงดันน้ำมันในราง Common Rail ลงทันที ทำให้ท้ายๆรถเดินสู้ ISUZU หรือ CHEV ไม่ได้ บางคนก็คิดว่าถ้ามัน Drop ก็ใส่ดันรางสิ ใช่ครับใส่ดันรางช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่ Triton หลายๆคนคงยังไม่รู้ว่ายิ่งจูนแรงดันมาก แรงดันก็ยิ่ง Drop มาก ส่วนจะจูนเท่าไรแล้วได้แรงดันมากที่สุดต้องลองดูเองครับ เนื่องจากรถแต่ละคันก็ไม่เหมือนกัน มากที่สุดในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะได้แรงดันสูงเหมือน ISUZU และ CHEV นะครับ ดังนั้นจึงต้องมีการ Modify SCV Valve ช่วย เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำมันที่เข้า Fuel Pump มากขึ้นครับ เมื่อเรารู้ว่า SCV Valve คือต้นตอของปัญหาแต่ทำอย่างไรล่ะถึงจะควบคุมมันได้โดยไม่ต้องใช้การควบคุมจากกล่องหลัก ก็เลยมีกล่องจูน SCV Valve เกิดขึ้นมาเพื่อควบคุมการทำงานของ SCV Valve โดยเฉพาะครับ แต่ต้องมี SCV Vale เสมือนเพื่อให้กล่องหลักควบคุมเหมือนเดิมนะครับ ไม่อย่างนั้นไฟรูปเครื่องจะโชว์นะครับ ข้อดีคือสร้างและควบคุมแรงดันได้เต็มที่ ข้อเสียก็เหมือนกล่องดันรางครับมากเกินไปภาระก็ตกอยู่ที่หัวฉีดกับปั๊มครับ
4. ปลดล็อคบูสท์ หรือที่เรียกกันว่า Boost Cut กล่องหลักจะใช้ MAP sensor หรือ MAF sensor เป็นตัวตรวจจับแรงดันอากาศหรือปริมาณอากาศที่เข้าเครื่องยนต์ว่ามีปริมาณมากเกินไปหรือไม่ เนื่องจากถ้าไม่มีการล็อคบูสท์เทอร์โบของกล่องหลัก ถ้าเราเพิ่มบูสท์มากเกินไปโดยที่กล่องหลักยังจ่ายย้ำมันเท่าเดิมอาจจะทำให้เครื่องยนต์พังได้เช่นลูกสูบแตกเป็นต้น ในปัจจุบันเราต้องการเพิ่มความแรงก็จำเป็นต้องมีการปลดล็อคบูสท์เทอร์โบเพื่อเพิ่มบูสท์ครับ โดยการไปหลอกกล่องหลักว่าค่า Max Voltage ที่อ่านได้จาก MAP หรือ MAF sensor ยังไม่เกินค่าที่จะทำให้ไฟรูปเครื่องโชว์ครับ


5.ทำไมเวลาออกตัวแรง ๆ แล้วท้ายมันสั่น ๆ หรือเด้าพื้น มีวีธีแก้มาเสนอครับ
   5.1 ไคว้โช๊ค
   5.2 เซ็ทแหนบ
   5.3 ค้ำเพลา

วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ

ฟูจิ
1. ควรศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคว่ามีความชื่นชอบแบบไหน หรือต้องการแบบไหน เพื่อที่จะได้ทราบถึงความต้องการของลูกค้า
2. ควรศึกษาบริษัทคู่แข่งว่ามีการใช้วัตถุดิบที่ดีกว่า หรือราคาที่ถูกกว่าหรือไม่
3. สินค้าควรมีความสดใหม่ และมีความสะอาดอยู่ตลอด
4. การจัดจำหน่ายสินค้าควรมีความรวดเร็ว เพื่อให้ส่งสินค้าได้ทันเวลาตามที่ลูกค้ากำหนด
เอ็มเค
1. ควรให้ความสำคัญในเรื่องของความสดใหม่ของอาหารและให้มีความถูกสุขอนามัยมากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ
2. ควรมีการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชากรในประเทศที่จะไปลงทุน ว่ามีการบริโภคแบบไหน และมีความต้องการแบบไหน
3. ทางเอ็มเคนั้นมีการบริหารจัดการด้วยแนวคิด QCQS ได้แก่ Quickness ความรวดเร็วในการให้บริการ Cleanliness  ความสะอาดของอุปกรณ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร Quality คุณภาพของอาหารที่มีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างเข้มงวด และService การให้บริการที่เป็นเลิศ ซึ่งสามารถที่จะเป็นจุดขายแกผู้บริโภคได้

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความสินค้าส่งออก

ผ้าไหมไทย


                ออสเตรเลียเป็นประเทศหนึ่งที่มีความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ และเป็นตลาดที่มีศักยภาพที่ดีระดับหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันการค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียยังมีมูลค่าไม่มากนัก แต่จากความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับออสเตรเลียทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีการตกลงร่วมมือทางด้านการค้า การให้สิทธิพิเศษสำหรับสินค้าหลายรายการจากการที่ไทยและออสเตรเลียเป็นสมาชิก APEC (Asia Pacific Economic Cooperation) และการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย(Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ที่ช่วยลดความเข้มงวดของมาตรการกฎระเบียบต่างๆ อันเป็นอุปสรรคทางการค้า ก็นับเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้การค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลียมีโอกาสเพิ่มสูงขึ้นได้
                นอกจากนี้ออสเตรเลียยังเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมปีละจำนวนมาก และประชากรประกอบด้วยหลายเชื้อชาติทำให้ความต้องการสินค้ามีความหลากหลายพอสมควร โดยเฉพาะสินค้าหัตถกรรมที่พบว่าสินค้าของไทยที่มีรูปแบบ และคุณภาพได้มาตรฐานมีศักยภาพและแนวโน้มที่ดีไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิก หรือไม้แกะสลัก ส่วนผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ของไทยนั้นก็มีแนวโน้มที่ดีเช่นกัน
                โดยในช่วง 7 เดือนแรกปี 2549 ไทยสามารถส่งออกสินค้ากลุ่มดังกล่าวไปยังตลาดออสเตรเลียคิดเป็นมูลค่า 13.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะในส่วนของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตจากผ้าไหมอย่างเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าเช็ดหน้า ผ้าพันคอ หรือเน็คไท เป็นต้น นั้น มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจากมูลค่า 3.2 ล้านบาทในปี 2544 เป็นมูลค่า 8.0 ล้านบาทในปี 2548 และในช่วง 7 เดือนแรกปี 2549 ไทยสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไปยังตลาดออสเตรเลียเป็นมูลค่า 5.3 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนผ้าไหมนั้นพบว่ามีทิศทางที่ชะลอตัวลงด้วยอัตราการเติบโตที่ลดลงร้อยละ 18.63 เมื่อเทียบจากช่วง 7 เดือนแรกปี 2548
                โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าสินค้าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่กระตุ้นให้สินค้าผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ของไทยโดยรวมในตลาดออสเตรเลียขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าในปี 2549 มูลค่าการส่งออกของสินค้ากลุ่มนี้โดยรวมในตลาดออสเตรเลียน่าจะขยายตัวด้วยระดับอัตราการเติบโตใกล้เคียงร้อยละ 10 หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 25 ล้านบาท ซึ่งปัจจัยที่เกื้อหนุนสำคัญได้แก่ 1. เศรษฐกิจออสเตรเลียในปี 2549 ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง 2. การลงนามข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย(Thailand-Australia Free Trade Agreement : TAFTA) ส่งผลให้ผ้าไหมและผลิตภัณฑ์ก็เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับการลดภาษีจากออสเตรเลีย 3. รูปแบบโดยเฉพาะในส่วนของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายด้วยผ้าไหมจึงได้รับอิทธิพลจากแถบเอเชียพอสมควร 4.นอกจากนี้ปัจจุบันคุณภาพและความหลากหลายของผ้าและผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของไทยมีความหลากหลายมากขึ้น 5. การสนับสนุนจากภาครัฐ จากการที่ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนอย่างเป็นระบบด้วยการทำหน้าที่เป็นผู้นำร่องให้เอกชนไปบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ภายใต้โครงการเจาะตลาดเป้าหมาย
                อย่างไรก็ตาม ในขณะที่มีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการดังกล่าวข้างต้น แต่ในปี 2549 ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยในตลาดออสเตรเลียก็ยังคงต้องเผชิญกับหลากหลายปัจจัยลบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น 1.ตลาดภายในประเทศออสเตรเลียที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง 2. ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ 3.จีนมีการพัฒนาคุณภาพและรูปแบบเพิ่มขึ้นตามลำดับ ผ้าไหมที่ผลิตจากเส้นไหมขาวของอินเดียมีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่าการผลิตเส้นไหมเหลืองของไทย และ 5.ปัญหาการจัดการ พบว่าผู้ประกอบอุตสาหกรรมไหมไทยส่วนใหญ่ยังขาดทักษะในการบริหาร
                ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าแนวทางในการปรับตัวของผู้ประกอบการไทยเพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคผ้าและผลิตภัณฑ์ไหมของไทยในตลาดออสเตรเลียให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้นนั้น จึงควรประกอบด้วย 1.การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 2. การสร้างความแตกต่าง 3. การมุ่งสร้างตราสินค้าให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นของลูกค้า 4.การสร้างการรับรู้ในคุณค่าของผ้าและผลิตภัณฑ์ไหม ด้วยการเผยแพร่ผ่านการสัมมนาในงานแสดงสินค้า การเขียนบทความลงในนิตยสาร และการจัดทำโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ ในตลาดอย่างต่อเนื่อง 5.การติดตามความเคลื่อนไหวของตลาด
                ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรต้องเร่งปรับกลยุทธ์ทั้งด้านการผลิตและการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันทั้งในส่วนของการมีความได้เปรียบด้านต้นทุนที่ต่ำ อันเกิดจากประสิทธิภาพการประกอบการที่เหนือกว่า ด้วยการปรับปรุงระบบการบริหารต้นทุนการผลิตให้ต่ำลง หรือการเพิ่มระดับมาตรฐานการดูแลรังไหมให้มีเปอร์เซ็นต์รังเสียน้อยที่สุด โดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาช่วย การเพิ่มผลผลิตหม่อนต่อหน่วยพื้นที่ การปรับปรุงคุณภาพการผลิตเส้นไหม และการควบคุมมาตรฐานวัตถุดิบ รวมถึงการควบคุมการจัดการและการส่งมอบให้ดีด้วย เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ต้องเร่งสร้างการมีความได้เปรียบด้านความแตกต่าง เพื่อรุกตลาดระดับกลาง และขยับไปยังตลาดระดับบนมากขึ้น รวมถึงการกระจายกลุ่มเป้าหมายจากรายบุคคลไปยังกลุ่มโรงแรม หรือสปา ในส่วนของผลิตภัณฑ์ผ้าไหมอย่างกลุ่มสินค้าเครื่องประดับตกแต่งบ้านด้วย โดยอาศัยจุดแข็งด้านฝีมือที่ชำนาญและประณีตของแรงงานไทย
                แต่ทั้งนี้ก็ต้องกำหนดราคาสินค้าในระดับที่เหมาะสมและสามารถแข่งขันได้ด้วย ควบคู่กับการเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยความคิดสร้างสรรค์ การสร้างตราสินค้าของตนเอง การพัฒนาคุณภาพและรูปแบบของสินค้า โดยควรเน้นการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่อาจจะเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมของไทยและออสเตรเลีย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชาวออสเตรเลีย รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้าไปเยือนออสเตรเลียและคาดหวังจะได้รับกลิ่นอายของความเป็นออสเตรเลียด้วย เป็นต้น



วิเคราะห์ SWOT Analysis  ผ้าไหม

จุดแข็ง
-                    มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่นลักษณะผ้าทอไหมเป็นสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น จึงทำให้มีลายและรูปแบบที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะจำเพาะ
-                    เป็นสินค้าหัตถกรรมที่มีมูลค่าสูงเนื่องจากเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือจึงมีคุณค่าและมีมูลค่าสูง
-                   เป็นภูมิปัญญาไทย
จุดอ่อน
-                   ไม่สามารถผลิตได้จำนวนมาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ทำด้วยมือ จึงต้องใช้เวลาในการผลิตค่อนข้างมาก
-                    มาตรฐานสินค้าไม่สม่ำเสมอ เช่น เดียวกันเนื่องจากเป็นสินค้าหัตถกรรมบางครั้งจึงทำให้มีมาตรฐานสินค้าที่ไม่สม่ำเสมอ เช่น สี คุณภาพผ้า เป็นต้น
-                   ดัดแปลงใช้กับชีวิตประจำวันได้ยาก ในการผลิตผ้าทอไหมเพื่อการใช้งานเมื่อนำมาใช้ดัดแปลงกับชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันจะสามารถใช้งานได้ยาก เนื่องจากคุณสมบัติของผ้า ลวดลาย สีสัน
-                   ดูแลรักษายาก เนื่องจากเป็นผ้าไหมทอมือ จึงจำเป็นต้องใช้การดูแลรักษาเป็นอย่างดี จึงจะทำให้เกิดความยุ่งยาก
โอกาส
-                   ผู้ซื้อจากต่างประเทศต้องการสินค้าแปลกใหม่ ที่ไม่สามารถหาได้ทั่วไปในตลาดความนิยมวัสดุธรรมชาติมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ใช้การย้อมสีธรรมชาติเนื่องจากจะไม่ส่งผลต่อร่างกาย มีรูปแบบที่น่าสนใจและมีราคาที่เหมาะสม มีกลิ่นอายของความเป็นเอเชีย
-                   ผ้าไหมไทยมีเอกลักษณ์และเป็นที่ชื่นชมในระดับนานาชาติ ทำให้ผลผลิตจากอุตสาหกรรมไหมยังมีโอกาสอีกมากในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
ปัญหาและอุปสรรค
-                   การแข่งขันในตลาดต่างประเทศมีสูงมาก ในตลาดโลกมีสินค้าหลากหลายที่เสนอให้กับลูกค้า ทั้งในเรื่องของรูปแบบราคา คุณภาพ ดังนั้นสินค้าจากไทยรูปแบบเติม ๆ จะไม่สามารถครองตลาดได้อีกต่อไป
-                   ปริมาณเส้นไหมที่มีอยู่ในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องมีการนำเข้าทำให้มีต้นทุนในส่วนวัตถุดิบสูงขึ้น
-                   มีการแข่งขันจากผ้าทอพื้นเมืองที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีราคาถูกกว่า และดูแลรักษาง่ายกว่า เช่น ผ้าฝ้ายทอพื้นเมือง เป็นต้น

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศออสเตรเลีย



ภูมิศาสตร์ของประเทศออสเตรเลีย
           
ออสเตรเลียในประเทศที่มีลักษณะเป็นทวีป มีเนื้อที่ 7,682,300 ตารางกิโลเมตร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 รองจากประเทศรัสเซีย แคนาดา จีน อเมริกา บราซิล เนื้อที่ 1 ใน 3 เป็นทะเลทราย ประชากรตั้งถิ่นฐานหนาแน่นอยู่แถบชายฝั่งตะวันออกและทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศเพราะเป็นเขตที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีฝนตกชุกกว่า ภูมิอากาศของประเทศออสเตรเลียมีทั้งที่เป็นเขตร้อนและเขตอบอุ่น เนื้อที่ส่วนใหญ่ของรัฐ Northern Territory  รัฐ Queensland และบางส่วนของรัฐ Western Australia ตั้งอยู่ในเขตร้อนเหมือนประเทศไทย นอกนั้นอยู่ในเขตอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยแตกต่างกันในแต่ละรัฐ ระหว่าง 27 องศาเซลเซียสเหนือสุด ถึง 13 องศาเซลเซียสตอนใต้สุด

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ



การค้าระหว่างประเทศ
                การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
                1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
                2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น


  การตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ คือ การนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการส่งมอบให้กับลูกค้าในประเทศต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อสร้างส่วนแบ่งทางการตลาดใหม่หรือแบ่งส่วนตลาดเดิม เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในประเทศเป้าหมาย โดยใช้กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดที่เหมาะสม อาจเป็นการใช้มาตรฐานเดียวกับประเทศแม่ หรือการปรับให้เหมาะสมกับแต่ละประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช้ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price,Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศเลยก็ได้  เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก สิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้นธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


ความแตกต่างของการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้นำสินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้าที่แตกต่างกัน
การตลาดระหว่างประเทศ เป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการให้กับลูกค้าในประเทศต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในประเทศเป้าหมาย การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นนักการตลาดจะต้องระลึกถึงเสมอว่า วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้นธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

ความสำคัญของการขาย

          วิชาการขาย อาชีพขาย การขาย ในแง่ใดแง่หนึ่งนี้ ย่อมมีความสำคัญหรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคล องค์การต่างๆ อย่างแน่นอนไม่มากก็น้อย ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงความสำคัญของการขายในชีวิตประจำวันต่อกิจการธุรกิจ ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

          ความสำคัญของการขายในชีวิตประจำวัน หลักการขายเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่แต่เฉพาะพนักงานขายเท่านั้นที่ต้องใช้หลักการขาย คนเราใช้หลักการขายตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะการขายเป็นวิชาที่ว่าด้วยศิลปะ การเกลี้ยกล่อมให้คนอื่นเห็นด้วย หรือคล้อยตามความคิดของตน ซึ่งบางครั้งเราใช้หลักการขายโดยไม่รู้ตัว เช่น ลูกขอเงินจากคุณพ่อเพื่อไปทัศนาจรกับเพื่อนในวันหยุด โดยต้องจูงใจท่านให้เห็นด้วยกับเหตุผลในการไปเที่ยว ท่านจึงจะให้เงิน นักการเมืองต้องการให้ประชาชนมีความศรัทธาและเชื่อถือ ก็ต้องใช้หลักการขายถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด จุดมุ่งหมายและนโยบายของตนให้เป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ประชาชน นายธนาคารต้องการเพิ่มยอดเงินฝากจากลูกค้าก็ต้องใช้หลักการขายเพื่อจูงใจลูกค้าให้มีความเชื่อมั่น และนำเงินมาฝากมากขึ้น ผู้ที่ศึกษาเล่าเรียนไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาใดก็ตาม จุดมุ่งหมายก็เพื่อจะได้นำความรู้ไปหางานทำซึ่งต้องไปสมัครงาน ในการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ผู้สมัครต้องขายบุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ ความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อให้ฝ่ายนายจ้างพิจารณารับไว้ทำงาน และเมื่อทำงานเราก็ต้องขายบริการ หรือแรงงานของเรา ถ้าเราทำงานดีก็จะได้ค่าตอบแทนสูงเหล่านี้เป็นต้น ฉะนั้นปัจจุบันนี้การขายเข้าไปเกี่ยวกับคนทุกวัย ทุกอาชีพและทุกระดับขั้นของสังคม เพราะไม่ว่าจะทำอะไรในชีวิตประจำวันเราก็ได้ใช้หลักของการขายรวมอยู่ด้วยเสมอ

          ความสำคัญของการขายต่อกิจการ การขายมีบทบาทสำคัญต่อการอยู่รอด และความเจริญเติบโตของ  กิจการ ไม่ว่ากิจการธุรกิจใดก็ตาม เมื่อจัดตั้งขึ้นต้องดำเนินการเพื่อแสวงหารายได้อันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกิจการให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ ไม่ว่ากิจการธุรกิจใดจะตั้งอยู่ไม่ได้ ถ้าปราศจากพนักงานขาย และกิจการจะประสบความสำเร็จ มีฐานะมั่นคง มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วได้ ส่วนหนึ่งต้องมาจากการมีพนักงานที่มีความสามารถสูง ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าพนักงานขายที่มีความสามารถสูงจะถูกประมูลตัวให้ไปทำงานกับกิจการที่กำลังตกต่ำเพื่อจะได้ใช้ความสามารถดึงฐานะของกิจการให้ดีขึ้น หรือพนักงานขายที่มีความสามารถสูง อาจถูกดึงตัวให้ไปทำงานกับกิจการที่กำลังเจริญก้าวหน้าให้ก้าวต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง นั่นหมายความว่าพนักงานขายมีความสำคัญต่อกิจการเสมอไม่ว่าจะอยู่ในภาวะใด

          ความสำคัญของการขายต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ประเทศใดก็ตามที่มีเศรษฐกิจดี จะดูได้จากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศนั้น มีงานทำ มีรายได้สูง มีความเป็นอยู่ที่ดี ในทางตรงข้ามประเทศใดมีคนว่างงานมาก ขาดรายได้ แสดงว่าเศรษฐกิจของประเทศนั้นกำลังตกต่ำสินค้าต่าง ๆ ที่โรงงานผลิตขึ้นมาแล้วขายไม่ได้ เมื่อขายไม่ได้การผลิตจะผลิตต่อไปไม่ได้ ทำให้ไม่มีการจ้างงาน คนงานว่างงาน ไม่มีรายได้ การขายจึงมีความสำคัญในแง่ที่ทำให้สินค้าเปลี่ยนมือจากผู้ผลิตไปยังผู้ซื้อหรือผู้บริโภค ผู้ผลิตจำเป็นต้องสร้างความต้องการ (Demand) ไปพร้อมๆ กับการผลิตสินค้า เมื่อโรงงานผลิตสินค้าออกมาแล้วขายได้ ก็ต้องมีการผลิตต่อไปในปริมาณมากขึ้นตามความต้องการที่สูงขึ้น ทำให้มีการจ้างงานมากขึ้น คนมีงานทำ มีรายได้ เศรษฐกิจของประเทศก็ดี นอกจากนี้พนักงานขายเป็นผู้ทำให้การผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณสูงขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ถือว่าเป็นการช่วยลดค่าครองชีพของประชาชนอีกด้วย

          จะเห็นว่าไม่ว่าธุรกิจการงานใดก็ตาม งานการขายจะเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ด้วยเสมอ การเรียนวิชาการขายทำให้คนมีความรู้ เป็นพนักงานขายที่ดี รู้จักหางานทำที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถผลของงานก็มีประสิทธิภาพ มีความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน มีความมั่นคงในงานอาชีพ ดังนั้นถ้าทุกคนรู้จักนำเอาหลักการของการขายไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมแล้วย่อมประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างแน่นอน

ชนิดของงานขาย ถ้าจะสรุปโดยกว้างๆ จะมีอยู่ 2 ลักษณะ

1. งานขายสินค้า (Goods) เป็นสิ่งที่มีตัวตน สัมผัสได้ จับต้องได้ พนักงานขายสินค้าสามารถดำเนินการเสนอขายให้กับลูกค้าได้ง่าย เพราะลูกค้าได้รู้ ได้เห็น และใช้ประสาทสัมผัสได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับประโยชน์และความพอใจที่ลูกค้าได้รับ

2. งานขายบริการ (Service) เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน สัมผัสไม่ได้ เช่น การประกันชีวิต หุ้น พันธบัตร เป็นต้น การขายบริการขึ้นอยู่กับความสามารถของการขายที่จะอธิบายให้ลูกค้าเห็นประโยชน์จากบริการที่เสนอขาย พนักงานขายต้องมีจินตนาการ เฉลียวฉลาด และมีความสามารถในการถ่ายทอดแนวความคิดอย่างชัดแจ้ง และต้องบมีความสามารถในการชักจูงใจคนได้ด้วย เพราะงานขายบริการนี้เป็นเรื่องของอารมณ์หรือความรู้สึกมากกว่าเหตุผล เป็นความประทับใจ ความพอใจในคุณค่าของสินค้าหรือบริการดังนั้นงานขายประเภทนี้จึงถือเป็นวิธีการเสนอที่ยากที่สุดของงานขายทุกๆ ประเภท ซึ่งพนักงานขายย่อมต้องอาศัย กิริยาวาจา และท่าทีเป็นสิ่งสำคัญ ความมีมนุษยสัมพันธ์เป็นปัจจัยที่สำคัญตลอดจนความพร้อม และความเต็มใจในการที่จะรับใช้หรือช่วยเหลือผู้อื่น



ที่มา : http://mathayom.brr.ac.th/~alluser/anong/learn1.htm